มีคนมากกว่า 4.2 ล้านคนในประเทศไทยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน1 ประชากรกลุ่มนี้อาจต้องประหลาดใจเมื่อทราบว่ามีความข้องเกี่ยวระหว่างโรคเบาหวานกับโรคเหงือก การวิจัยทางแพทย์2 แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสเป็นโรคเหงือกร้ายแรงได้มากขึ้น2 ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนยังประสบกับปัญหาในช่องปากอย่างอื่น เช่น:
- ปากแห้ง (ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการฟันผุมากขึ้น)
- มีกลิ่นปาก
- มีรสเค็มในปาก
- ฟื้นตัวจากการรักษาฟันได้น้อยลง เช่น การผ่าฝันคุด
- ติดเชื้อจากเชื้อราอย่างโรคเชื้อราในปาก
โรคเบาหวานทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกร้ายแรงได้อย่างไร
โรคปริทันต์ หรือโรคเหงือกร้ายแรง เกิดจากการสะสมคราบแบคทีเรียบนฟัน คราบแบคทีเรียส่งผลกระทบต่อเหงือกและกระดูกรอบ ๆ ฟัน หากไม่รักษา เยื่อหุ้มฟันอักเสบก็จะนำไปสู่การทำให้เหงือกร่นและเสียฟันไป
โรคเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่ปกป้องเหงือกนั้นลดลง นั่นหมายความว่าคนเป็นโรคเบาหวานนั้นจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าและรักษาตัวได้ช้ากว่า การที่เกิดเส้นเลือดหดตัวยังหมายความว่าร่างกายต่อสู้กับแบคทีเรียได้น้อยลง ซึ่งรวมถึงแบคทีเรียในช่องปากด้วย
ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นมีมากกว่าถึงสามเท่า3 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
โรคปริทันต์ส่งผลต่อโรคเบาหวานหรือไม่
การวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในทางกลับกันระหว่างโรคเบาหวานกับโรคเหงือก2,4 โรคเหงือกอาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดและเป็นสาเหตุที่ทำให้เบาหวานรุนแรงขึ้น
การติดเชื้อแบบใดก็ตามอาจทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดคุณสูงขึ้น นั่นรวมถึงโรคปริทันต์ ซึ่งคืออาการเหงือกติดเชื้ออย่างรุนแรง จากการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่สอง โรคปริทันต์ทำให้ควบคุมกลูโคสในกระแสเลือดได้แย่ลงเป็นเวลา 2-4 ปี5 จากผลนี้ การรักษาโรคปริทันต์ก็จะช่วยรักษาระดับกลูโคสในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย6
การค้นคว้าวิจัยอื่นๆ 7–10 ได้รายงานว่าอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ได้แก่ โรคจอประสาทตา โรคระบบประสาท โปรตีนรั่วในปัสสาวะ (proteinuria) และภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจและหลอดเลือดนั้น ยังได้รับผลกระทบจากโรคปริทันต์อีกด้วย
หากคุณเป็นโรคเบาหวาน จงเฝ้าดูอาการของโรคเหงือกร้ายแรงเหล่านี้
- มีกลิ่นปากอย่างต่อเนื่อง
- เลือดออกตามไรฟันในขณะแปรงฟัน ขัดฟัน หรือรับประทานอาหาร
- เหงือกแดงบวม
- ปวดหรือเจ็บบริเวณเหงือก
- เหงือกร่น
- ฟันคลอนหรือโยก
หากเป็นเบาหวานจะป้องกันโรคเหงือกได้อย่างไร
สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคเหงือกคือการควบคุมคราบฟัน (Plaque) คราบฟันคือแผ่นฟิล์มหนา ๆ บนฟันที่ประกอบด้วยกลุ่มแบคทีเรียที่สะสมบริเวณแนวเหงือก หากไม่ขจัดคราบฟันในทุก ๆ วัน จะทำให้เหงือกแดงและบวม นั่นอาจนำไปสู่อาการเลือดออกตามไรฟัน เหงือกที่ติดเชื้อเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบและเป็นระยะแรก ๆ ของโรคเหงือก หากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคเหงือกอักเสบก็จะนำไปสู่โรคปริทันต์
การป้องกันโรคเหงือกเริ่มได้จากสุขภาพในช่องปากที่ดี
แปรงฟัน ขัดฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีน ® เป็นประจำทุกวัน จะช่วยป้องกันการสะสมของคราบแบคทีเรียและปกป้องเหงือกจากแบคทีเรีย
- ใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ทุกวันเพื่อช่วยป้องกันฟันผุ
- พบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากและทำความสะอาดโดยมืออาชีพ
- แจ้งให้ทันตแพทย์ของคุณทราบหากคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน และปรึกษาเรื่องสุขภาพในช่องปากที่คุณกังวลอยู่
- หากคุณสวมฟันปลอม ให้แปรงและล้างฟันปลอมทุกวันเพื่อขจัดคราบฟันสะสม
แหล่งที่มาของข้อมูล:
1 The International Diabetes Federation. Western Pacific Members: Thailand. Accessed online through https://www.idf.org/our-network/regions-members/western-pacific/members/115-thailand.html
2 Negrato CA, Tarzia, O, Jovanovic L, Chinellato L. Periodontal disease and diabetes mellitus. J Appl Oral Sci 2013 Jan-Feb; 21(1):1-12. doi: 10.1590/1678-7757201302106 Accessed online through https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3881811/
3 Mealey B, Ocampo G. Diabetes mellitus and periodontal disease. Periodontology 2000; 2007; 44:127-153. doi: 10.1111/j.1600-0757.2006.00193.x . Accessed online through: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1600-0757.2006.00193.x
4 Preshaw PM, Alba AL, Herrera D, et al. Periodontitis and diabetes: a two-way relationship. Diabetologia. 2012;55(1):21-31. doi:10.1007/s00125-011-2342-y. Accessed through: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3228943/
5 Taylor, G. W., Burt, B. A., Becker, M. P., Genco, R. J., Shlossman, M. , Knowler, W. C. and Pettitt, D. J. Periodontitis and Risk for Poor Glycemic Control in Patients with Non‐Insulin‐Dependent Diabetes Mellitus. Journal of Periodontology. 1996; 67: 1085-1093. doi:10.1902/jop.1996.67.10s.1085 Accessed through: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8910827
6 Teeuw WJ, Gerdes VEA, Loos BG. Effect of Periodontal Treatment on Glycemic Control of Diabetic Patients: A systematic review and meta-analysis. Diabetes Care. 2010;33(2):421-427. doi:10.2337/dc09-1378. Accessed through: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2809296/
7 Karjalainen KM, Knuuttila ML, Dickhoff KJ. Association of the severity of periodontal disease with organ complications in type 1 diabetic patients. J Periodontol. 1994;65:1067–1072. [PubMed]
8 Moore PA, Weyant RJ, Mongelluzzo MB, et al. Type 1 diabetes mellitus and oral health: assessment of tooth loss and edentulism. J Public Health Dent. 1998;58:135–142. doi: 10.1111/j.1752 7325.1998.tb02498.x. [PubMed] [Cross Ref]
9 Moore PA, Weyant RJ, Mongelluzzo MB, et al. Type 1 diabetes mellitus and oral health: assessment of periodontal disease. J Periodontol. 1999;70:409–417. doi: 10.1902/jop.1999.70.4.409. [PubMed][Cross Ref]
10 Thorstensson H, Kuylenstierna J, Hugoson A. Medical status and complications in relation to periodontal disease experience in insulin-dependent diabetics. J Clin Periodontol. 1996;23:194–202. doi: 10.1111/j.1600-051X.1996.tb02076.x. [PubMed] [Cross Ref]