Popup
 

ผลกระทบของการสูบบุหรี่และการใช้ยาสูบที่มีต่อฟันและช่องปาก

แม้ว่าคนส่วนมากได้รับการศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของยาสูบที่มีต่อร่างกาย แต่ผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่อฟันและช่องปากนั้นกลับถูกลืมเลือน การค้นคว้าวิจัยหลายครั้งได้แสดงว่าการสูบบุหรี่ส่งผลกระทบต่อฟันและช่องปากอยู่หลายทาง ไม่เพียงแค่การสูบบุหรี่ทำให้ปากเหม็น ฟันเหลือง ทำลายต่อมรับรส ฯลฯ แต่เมื่อสูบบุหรี่ไปสักระยะ ยังส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยต่อต้านแบคทีเรียอีกด้วย สิ่งนี้ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกที่รุนแรงอย่างโรคปริทันต์อย่างมาก

ยาสูบประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายพันชนิด เช่น คาร์บอนมอนอกซ์ไซด์ แอมโมเนีย ฟอร์มาลดีไฮด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และสารพิษอื่น ๆ และสารก่อการระคายเคือง รวมถึงสารที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งกว่า 60 ชนิด การใช้ยาสูบในรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะยาสูบไร้ควัน ทำให้ผู้ใช้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในช่องปากมากขึ้น

ผลกระทบของการสูบบุหรี่และการใช้ยาสูบที่มีต่อฟันและช่องปาก

  • กลิ่นปาก
  • ฟันผุ
  • การค้นคว้าวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่สูบบุหรี่ตอบสนองต่อการบำบัดพื้นฐาน (แปรงฟันและขัดฟัน) ไม่ได้ดีเท่ากับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่1,2
  • ยาสูบทิ้งคราบบนฟัน อาจทำให้ฟันมีสีเหลือง น้ำตาล น้ำตาลเข้มหรือแม้แต่สีดำ
  • เพิ่มการสะสมของคราบแบคทีเรียและหินปูน
  • ความสามารถในการรับรสลดลง
  • ภูมิคุ้มกันต่อต้านแบคทีเรียลดลง
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์เป็นอย่างมาก – โรคเหงือกร้ายแรง
  • การรักษาตัวหลังจากการทำฟันเป็นไปได้ยาก เช่น การถอนฟันหรือผ่าตัดเหงือก
  • ประสบความสำเร็จในการทำทันตกรรมรากเทียมได้ต่ำกว่า
  • การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานลดอัตราการไหลเวียนของน้ำลายเป็นอย่างมาก
  • การสูบบุหรี่ยังเป็นที่ทราบกันว่าช่วยเพิ่มกรดในน้ำลาย
  • เมื่อผู้สูบบุหรี่เกิดอาการเหงือกอักเสบ มักไม่มีเลือดปรากฏหรือเหงือกดูไม่แดง ด้วยเหตุนี้ การวินิจฉัยโรคเหงือกของผู้สูบบุหรี่อาจล่าช้าเนื่องด้วยเหงือกดูเป็นปกติแม้ว่าจะไม่ใช่ นั่นอาจทำให้อาการร้ายแรงขึ้นได้ในช่วงเวลานั้น
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและรอยโรคก่อนเป็นเนื้อร้าย (pre-cancerous lesions)

การสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคเหงือกได้อย่างไร

แม้ว่าในตอนแรกผู้ที่สูบบุหรี่อาจมีการอักเสบของเหงือกลดลงเนื่องจากการสะสมของคราบแบคทีเรียเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่การค้นคว้าวิจัยมากมายได้ยืนยันว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเพิ่มของโรคและทำลายเหงือกได้อย่างรุนแรง การค้นคว้าวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกร้ายแรงได้มากถึงสามเท่า3,4  และระยะเวลาที่ใช้ยาสูบก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการสูญเสียฟัน ฟันผุ และเกิดโรคปริทันต์5,6 การสูบบุหรี่ลดออกซิเจนที่จำเป็นในการหมุนเวียนโลหิตในทุกส่วนของปาก รวมถึงฟันและกระดูกโดยรอบ การขาดออกซิเจนในเลือดส่งผลต่อภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่ตอบสนองต่อแบคทีเรียบนคราบฟัน นั่นทำให้ความเสี่ยงของการเกิดโรคเหงือกเพิ่มมากขึ้น

ได้ทำการสังเกตพบการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ในเหงือกของผู้ป่วยที่สูบบุหรี่

  • แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกร้ายแรงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและร้ายแรงขึ้น
  • จำนวนแบคทีเรียที่เป็นอันตรายใต้แนวเหงือกเพิ่มขึ้น
  • หลอดเลือดในเหงือกลดลง
  • ความเสี่ยงต่อโรคเหงือกร้ายแรง (โรคปริทันต์) เพิ่มขึ้น
  • อัตราการถูกทำลายของเหงือกเพิ่มมากขึ้น

สังเกตอาการต่อไปนี้เพื่อดูว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคเหงือกร้ายแรงหรือไม่

  • มีกลิ่นปากที่ต่อเนื่องยาวนาน
  • เลือดออกตามไรฟันระหว่างแปรงฟัน ขัดฟันหรือรับประทานอาหาร
  • เหงือกบวมแดง
  • มีอาการปวดหรือเจ็บที่เหงือก
  • เหงือกร่น
  • ฟันคลอนหรือโยก

นอกจากจะเลิกสูบบุหรี่แล้ว ผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือกับทันตแพทย์ในการจัดการโรคเหงือก

ส่วนสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดการกับโรคเหงือกในผู้สูบบุหรี่นั้นคือการเลิกสูบบุหรี่ ปรึกษานักวิชาชีพดูแลสุขภาพ (health care professional) ของคุณในหลายวิธีที่คุณสามารถใช้ในการรับมือกับอาการเสพติดของคุณได้ ทันตแพทย์ของคุณสามารถช่วยรับมือกับอาการเหงือกอักเสบผ่านการควบคุมคราบฟัน (plaque) ซึ่งคราบฟันคือแผ่นฟิล์มหนา ๆ บนผิวฟันที่เกิดจากกลุ่มแบคทีเรียที่สะสมบริเวณแนวเหงือก และเป็นต้นเหตุของปัญหาโรคเหงือก การแปรงฟัน ขัดฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีน® ให้เป็นกิจวัตรจะช่วยป้องกันการสะสมของคราบแบคทีเรีย และช่วยปกป้องเหงือกจากแบคทีเรีย ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสอบสุขภาพช่องปากและทำความสะอาดโดยมืออาชีพ และอย่าลืมปรึกษาทันตแพทย์ของคุณเรื่องขั้นตอนการเลิกบุหรี่ของคุณด้วย

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

1. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9150643

2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9495614

3. Beck JD, Koch GG, Rozier RG, et al.: Prevalence and risk indicators for periodontal attachment loss in a population of older community-dwelling blacks and whites. J Periodontol. 61:521-528 1990 2391631

4. Locker D, Leake JL: Risk indicators and risk markers for periodontal disease experience in older adults living independently in Ontario, Canada. J Dent Res. 72:9-17 1993

5. Jette AM, Feldman HA, Douglass C: Oral disease and physical disability in community-dwelling older persons. J Am Geriatr Soc. 41:1102-1108 19938409157

6. Jette AM, Feldman HA, Tennstedt SL: Tobacco use: a modifiable risk factor for dental disease among the elderly. Am J Public Health. 83:1271-1276 1993 8363003