Popup
 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพเหงือก

ฟิล์มเหนียวที่เกาะอยู่บนเหงือกของฉันคืออะไร?

คราบแบคทีเรียบางๆ เรียกว่า ไบโอฟิล์ม สามารถเกาะติดได้บนเกือบทุกพื้นผิว นี่เป็นสาเหตุที่เหงือกและฟันของคุณรู้สึกเหมือนมีเมือกเกาะอยู่เมื่อคุณตื่นนอนในตอนเช้า ไบโอฟิล์มเป็นสิ่งปกติและเกิดขึ้นกับทุกคน แม้ว่าคุณจะแปรงฟัน, ใช้ไหมขัดฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากผสมสารแอนตี้-แบคทีเรียแล้วก็ตาม แต่เมื่อคุณไม่ขจัดไบโอฟิล์มเป็นประจำทุกวัน มันอาจสะสมและพัฒนาขึ้นเป็นแผ่นคราบแบคทีเรีย 
 แผ่นคราบพลัคซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาโรคเหงือกนั้นเกิดจากแบคทีเรียไม่ดีบางชนิด (ประเภทที่เจริญเติบโตบนน้ำตาลที่ตกค้างอยู่บนเหงือกและฟัน และเปลี่ยนเป็นกรดกัดกร่อนฟัน) และแบคทีเรียดีบางชนิด (ประเภทที่ทำให้ไบโอฟิล์มปกติไม่น่าสนใจสำหรับแบคทีเรียที่ผลิตกรด) 
 
 ผู้ที่ดูแลรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอที่บ้านโดยการแปรงฟัน, ใช้ไหมขัดฟัน และบ้วนปากทุกวัน จะสามารถควบคุมและลดขนาดของไบโอฟิล์มได้ และอาจทำให้มันดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีในไบโอฟิล์ม แต่เมื่อคุณทำความสะอาดและบ้วนปากไม่บ่อยครั้งเพียงพอ ไบโอฟิล์ม (ปกติเป็นสีเหลืองอ่อน) อาจสะสมตัวเป็นคราบหินปูนและหนาขึ้น ซึ่งมีแต่แพทย์และเครื่องมือแพทย์เท่านั้นที่จะขจัดมันออกไปได้ บ้วนปากให้เป็นกิจวัตรเพื่อควบคุมไบโอฟิล์มให้อยู่ในสภาวะที่ดีต่อสุขภาพ

อะไรคือความเชื่อมโยงระหว่างโรคเหงือก, โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์?

เมื่อคุณเป็นกังวลเกี่ยวกับเหงือกและเริ่มค้นหาข้อมูล คุณอาจรู้สึกสับสนได้อย่างรวดเร็วกับคำศัพท์เฉพาะทางการแพทย์มากมายที่ใช้กล่าวถึงโรคเดียวกัน นั่นคือ โรคเหงือก นี่คือความเชื่อมโยงกันระหว่างคำศัพท์เหล่านั้น: โรคเหงือกเป็นคำศัพท์ทั่วไปแบบกว้างๆ ที่ใช้เรียกอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียภายในช่องปากของคุณ ทั้งโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์คือคำที่ใช้เรียกโรคเหงือก แต่ทั้งสองคำนี้ไม่สามารถใช้แทนกันได้และไม่ได้หมายความถึงอาการเดียวกันเสียทีเดียว
 โรคเหงือกอักเสบหมายถึงโรคเหงือกระยะไม่รุนแรงเริ่มแรก (และสามารถรักษาให้กลับคืนสภาพเดิมได้) สังเกตอาการจากเหงือกบวมแดง มีเลือดออกง่ายเมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน หากโรคเหงือกอักเสบไม่ได้รับการรักษาด้วยการดูแลช่องปากที่ดีขึ้น มันอาจลุกลามและพัฒนาเป็นโรคเหงือกระยะรุนแรง (ไม่สามารถรักษาให้กลับคืนสภาพเดิมได้) เรียกว่า โรคปริทันต์ ซึ่งจะทำลายเหงือก, กระดูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งยึดฟันให้อยู่ในตำแหน่ง แล้วเมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้ฟันและเหงือกร่นห่างออกจากกันจนฟันหลุดในที่สุด โรคเหงือกเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการสูญเสียฟัน นี่คือเหตุผลที่ทำให้ดีที่สุดที่จะดูแลปัญหาเกี่ยวกับเหงือกตั้งแต่เริ่มแรกด้วยการฝึกบ้วนปากจนเป็นกิจวัตร 

ทำไมเหงือกของฉันจึงมีเลือดออก?

เมื่อเราอายุมากขึ้น การพบเห็นเลือดหยดหรือสองหยดในอ่างล้างหน้าหลังจากแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันก็กลายเป็นเรื่องปกติยิ่งขึ้นด้วย ปกติมากเสียจนพวกเราส่วนใหญ่เชื่อว่านั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เลือดออกตามไรฟัน แม้กระทั่งในระหว่างการทำความสะอาดโดยทันตแพทย์ ไม่ใช่เรื่องปกติและไม่ดีต่อสุขภาพ มันเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคเหงือกอักเสบ (โรคเหงือกระยะเริ่มแรก) ซึ่งมักเกิดขึ้นควบคู่กับอาการเตือนที่มักถูกละเลยอื่นๆ เช่น เหงือกบวมแดงและอักเสบ ผู้ใหญ่จำนวนหลายล้านคนมีอาการของโรคเหงือกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง กระนั้นก็มีเพียงคนจำนวนไม่มากที่ตระหนักถึงอาการเหล่านี้ เนื่องจากความเจ็บปวดที่เหงือกไม่ใช่อาการระยะเริ่มแรก ข่าวดีคือ โรคเหงือกระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ โดยผ่านการดูแลช่องปากอย่างถูกต้องยิ่งขึ้นเป็นประจำทุกวัน และการไปพบทันตแพทย์เพื่อกำจัดแผ่นคราบแบคทีเรียและหินปูนด้วยเครื่องมือแพทย์ แต่หากถูกละเลย เลือดในอ่างล่างหน้าอาจลุกลามกลายเป็นโรคเหงือกระดับรุนแรง (โรคปริทันต์) ที่ทำลายเหงือก, กัดกร่อนกระดูกขากรรไกร และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้ฟันหลุด หากคุณพบหยดเลือด อย่ารอจนถึงวันรุ่งขึ้นจึงเริ่มปรับปรุงกิจวัตรการแปรงฟัน, ใช้ไหมขัดฟัน และการบ้วนปากของคุณ

ทำไมคุณจึงมีอาการเหงือกร่น?

คุณตระหนักถึงหนึ่งในสัญญาณชี้บ่งที่ชัดเจนที่สุดของโรคเหงือกในระยะกลาง และนี่ไม่ใช่สัญญาณที่คุณควรละเลย เมื่อคุณสังเกตว่าเหงือกและกระดูกถอยห่างออกจากฟัน และส่วนล่างของซี่ฟันเริ่มปรากฏเห็นชัดมากขึ้น นั่นแสดงว่าเหงือกของคุณกำลังร่น เรามักเรียกอาการนี้ว่าอาการเหงือกร่น เมื่อเกิดอาการ รากฟันของคุณจะมีโอกาสสัมผัสกับแบคทีเรียที่เป็นอันตราย และช่องปากของคุณเริ่มไวรับต่อปัญหาสุขภาพหลายประการ หากมีอาการเหงือกบวมแดงซึ่งมีเลือดออกเมื่อแปรงฟันร่วมด้วย สาเหตุก็น่าจะมาจากโรคเหงือกในระยะเริ่มแรก หากทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาการเหงือกร่นอาจส่งผลต่อเนื่องร้ายแรงและไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้ เช่น การสูญเสียเนื้อฟัน (เนื้อเยื่อกระดูกแข็งและทึบซึ่งก่อรูปเป็นฟันอยู่ใต้เคลือบฟันและยึดฟันของคุณให้มั่นคงอยู่กับที่)

น้ำยาบ้วนปากทุกชนิดช่วยดูแลปัญหาโรคเหงือกได้ใช่หรือไม่?

ตรวจสอบส่วนประกอบบนขวดน้ำยาบ้วนปากของคุณทุกครั้ง และมองหาที่มีส่วนประกอบของสารแอนตี้-แบคทีเรีย ซึ่งช่วยลดโอกาสเป็นปัญหาสุขภาพเหงือก เช่น LISTERINE® Anti-bacterial Mouthwash (ซึ่งมีส่วนผสมของยูคาลิปทอล, เมนทอล, เมทิลซาลิไซเลต และไธมอล น้ำมันหอมระเหย 4 ชนิดซึ่งพิสูจน์ทางคลินิกแล้วว่าช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของปัญหาเหงือกได้) ใช้น้ำยาบ้วนปากผสมสารแอนตี้-แบคทีเรียเป็นประจำเพื่อลดการสะสมแบคทีเรียที่อาจเกาะแน่นอยู่บนเหงือกและสะสมกลายเป็นแผ่นคราบพลัค เมื่อแผ่นคราบพลัคไม่ถูกขจัด มันอาจจับก้อนแข็งกลายเป็นหินปูน น้ำยาบ้วนปากบางชนิดยังมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ซึ่งปกป้องฟันไม่ให้ผุ

กฎของการบ้วนปากคืออะไร?

คุณควรบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก LISTERINE® วันละสองครั้งตามคำแนะนำเพื่อผลที่ดีที่สุด ส่วนผสมของ LISTERINE® Anti-bacterial Mouthwash มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการลดการสะสมแบคทีเรียเหนือแนวเหงือก รวมถึงช่วยลดแผ่นคราบพลัคเหนียวและปัญหาสุขภาพเหงือกระยะเริ่มแรก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาเหงือกที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแล (ดังนั้นมันจึงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อคุณบ้วนน้ำยาในปาก) ใช้น้ำยาบ้วนปาก LISTERINE® วันละสองครั้งเพื่อการปกป้องจากแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเหงือกยาวนานตลอดวัน